วันเสาร์ที่ 11 ธันวาคม พ.ศ. 2553

ระบบศักดินา

ศักดินา



ระบบศักดินาธิปไตย ปรสิตที่เกาะกินประเทศไทยนับ ตั้งแต่มีการเปลี่ยนแปลงระบบการปกครองจากระบบสมบูรณาญาสิทธิราชย์ มาเป็นระบบการปกครอง ประชาธิปไตยเมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน ๒๔๗๕ โดยคณะราษฎรซึ่งการเปลี่ยนแปลงนั้นได้คืนอำนาจสู่มหาชนอย่าง แท้จริง เพราะเป็นการถ่ายโอนอำนาจจากกลุ่มศักดินาที่คุมอำนาจในการปกครองประเทศมา เป็นระยะเวลาช้านาน โดย ผู้เขียนจะเรียกว่าการปกครองระบบนี้ว่าระบบศักดินาธิปไตย และภายหลังการเปลี่ยแปลงการปกครองแล้วคณะ ราษฎรได้เข้ามาจัดการเปลี่ยแปลงประเทศครั้งใหญ่ ผลประโยชน์เดิมและอภิสิทธิที่เคยถูกระบบศักดินายึดเอาไป แต่เพียงกลุ่มเดียวถูกนำมาจัดสรรกระจายให้กับประชาชนผู้เป็นเจ้าของประเทศ มีการยึดทรัพสินย์เข้าเป็นของ แผ่นดินอภิสิทธิต่าง ๆ ที่กลุ่มศักดินาธิปไตยเคยได้รับถูกกำจัด ทั้งนี้เพื่อความเสมอภาคและประโยชน์ของประชาชน ซึ่งการปฏิบัติดังกล่าวของคณะราษฎรได้สร้างความโกรธแค้นให้กับกลุ่มศักดินา ธิปไตยเป็นอย่างมาก เพราะกลุ่ม ศักดินาธิปไตยได้สูญเสียอำนาจและผลประโยชน์ที่เคยได้รับแต่เพียงกลุ่มเดียว มาโดยตลอด จนมีการพยามยามที่จะ แย่งชิงเอาอำนาจกลับคืนสู่กลุ่มศักดินาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากมีการก่อกบฐพระองค์เจ้าวรเดชขึ้น เมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๗๖ แต่ประสพกับความล้มเหลว แต่ในที่สุดเมื่อปีพุทธศักราช ๒๔๘๙ เมื่อจอมพลป. พิบูลสงคราม ร่วมมือกับ นายควง อภัยวงค์ หัวหน้าพรรคประชาธิปัตย์ได้ร่วมกัน ก่อการรัฐประหารขับไล่รัฐบาลของประชาชน และหลัง จากนั้นระบบศักดินาธิปไตยก็ได้ถูกสถาปนาขึ้นในประเทศ ไทยอย่างมั่นคง

ภายหลังที่ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจรัฐบาลของประชาชนแล้ว ระบบศักดินาธิปไตยจึงได้คืนอภิสิทธิและ ผลประโยชน์กลับคืนสู่กลุ่มอภิสิทธิชนเดิม พร้อมกับการปกป้องกลุ่มอภิสิทธิชนอย่างที่ไม่เคยปรากฎมาก่อน และ เพื่อให้อำนาจตกอยู่ภายใต้การปกครองของระบบศักดินาธิปไตยอย่างมั่นคงและ ยั่งยืน จึงมีการจัดตั้งองค์กรขึ้นมา เพื่อแทรกแซงอำนาจของรัฐบาล นั้นคือคณะอภิมนตรีซึ่งต่อมาภายหลังมีการเปลี่ยนเป็นคณะองคมนตรี นอกจากนี้ ระบบศักดินาธิปไตยยังครอบงำระบบราชการโดยเฉพาะอย่างยิ่งในวงการทหาร เพื่อที่จะใช้เป็นเครื่องมือในการ รักษาอำนาจของระบบศักดินาธิปไตย ดังจะเห็นได้จากมีรัฐบาลที่เข้มแข็งและเป็นที่นิยมของประชาชน ก็จะมีการ ก่อการรัฐประหารยึดอำนาจเกิดขึ้น สำหรับวิธีการรอบงำของนั้น ระบบศักดินาธิปไตยจะแต่ตั้ง บุคคลที่สามารถ ควบคุมได้ให้ดำรงค์ตำแหน่งในหน่วยที่มีความสำคัญทางยุทธศาสตร์และ เพื่อให้ประเทศไทยเป็นที่ยอมรับในระดับนานาชาติ ระบบศักดินาธิปไตยจึงจำเป็นที่จะต้องอุปโลกระ บอบการปกครองขึ้นมา โดยมีการอ้างว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการปกครองแบบประชาธิปไตย แต่แท้ที่จริงแล้วเป็นเพียงฉากบังหน้า มีการจัดตั้งพรรคการเมืองที่สามารถควบคุมและสั่งการได้นั่นก็คือพรรคประชาธิ ปัตย์ มีการเลือกตั้งแต่ก็มิได้ให้ความสำคัญกับตัวแทนของประชาชน และยังทำลายภาพลักษณ์ของตัวแทนของประชาชน ให้เสียหาย เช่นมีการกล่าวหาว่าตัวแทนของประชาชนมีการทุจริต ฉ้อราษฎรบังหลวง ทำเพื่อผลประโยชน์ตนเอง และนอกจากที่จะทำลายภาพลักษณ์ของตัวแทนของประชาชนแล้ว ยังทำลายภาพลักษณ์ของประชาชนด้วยการ กล่าวหาว่าประชาชนส่วนใหญ่ของประเทศ ว่าไร้การศึกษาขาดความรู้ความเข้าใจในระบบการปกครองแบบประชา ธิปไตยสามารถใช้เงินซื้อเสียงได้ และในขณะเดียวกันก็มีการศร้างภาพลักษณ์ของบุคคลในระบบศักดินาธิปไตยว่า เป็นผู้ที่มีความรู้ความสามารถ มีความเสียสละ เป็นผู้ที่มีคุณธรรมจริยะธรรม กระทำทุกสิ่งทุกอย่างเพื่อประเทศชาติ และประชาชน ซึ่งเป็นการสร้างความชอบธรรมให้ระบบศักดินาธิปไตยในการที่จะแต่งตั้งบุคคล ของตนเองให้เข้า มาแทรกแซงการบริหารราชการแผ่นดิน ทั้งที่ความเป็นจริงแล้ว ระบบศักดินาธิปไตยคือกลุ่มชนที่รังเกียจกอบโกย ผลประโยชน์ทุกอย่างเป็นของ ตนเอง กดขี่ข่มเหงประชาชน เข่นฆ่าประชาชนเพียงเพื่อรักษาอำนาจของตนเอง
นอกจากการครอบงำทางด้านการเมืองการปกครองแล้ว ระบบศักดินาธิปไตยยังครอบงำระบบเศรษฐกิจ เพื่อเอื้อประโยชน์ให้กับกลุ่มทุนที่สนับสนุนกลุ่มอำนาจ ซึ่งจะเห็นได้จากการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ซึ่งส่วนมาก จะอาศัยความได้เปรียบจากการผูกขาดระบบสัมปะทาน โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาคธุรกิจการเงินและธนาคารซึ่ง ล้วนแล้วแต่ได้รับผลประโยชน์จากการกำหนดนโยบายจากระบบศักดินาธิปไตยทั้งสิ้น
ระบบ ศักดินาธิปไตยยังแผ่ขยายอิทธิพลของตนเองเข้าครอบงำระบบการศึกษาของประเทศอีก ด้วย ซึ่งวิธี การที่ใช้คือก็เหมือนกับการครอบงำระบบราชการนั่นก็คือ การส่งบุคคลในกลุ่มของตนเองเข้าไปแทรกซึมใน ระบบการศึกษาและวิจัยของประเทศ ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานจนถึงระดับอุดมศึกษา ทั้งนี้เพราะระบบ ศักดินาธิปไตย เล็งเห็นว่าลำพังการใช้กำลังทหารและพรรคการเมืองของตนเองนั้นไม่สามารถที่จะ ปกครองประ เทศได้อย่างมั่นคง เพราะถ้าประชาชนมีการศึกษามากขึ้นก็จะทราบถึงความชั่วร้ายที่ระบบศักดินา ธิปไตยได้กระทำ ไว้กับประเทศ ดังนั้นเพื่อให้ง่ายต่อการปกครองประเทศไทยจึงจำเป็นที่จะต้องเตรียมการปลูก ฝังให้ประชาชนเคารพ และเชื่อฟังอำนาจของระบบศักดินาธิปไตยตั้งแต่ยังเป็นนีกเรียนนักศึกษา เพราะนักเรียนและนักศึกษานั้นง่ายต่อ การโน้มน้าวจิตใจเนื่องจากอ่อนประสบการณ์ชีวิต
นอกจากจะครอบงำระบบการศึกษาของประเทศได้แล้ว ระบบศักดินายังมีวิศัยทัศน์ที่กว่างไกลมายิ่งขึ้น เพราะเมื่อนักเรียนนักศึกษาจบการศึกษาจากสถาบันการศึกษาแล้วนั้น โอกาศที่ประชาชนจะค้นพบความจริงว่าแท้ ที่จริงแล้วต้นตอของปัญหาของชาติไม่ได้อยู่ที่นักการเมือง,ประชาชน แต่ต้นตอของปัญหานั้นอยู่ที่ระบบศักดินาธิป ไตยต่างหาก เพื่อให้การครอบงำและปกครองประชาชนเป็นอย่างมั่นคงระบบศักดินาธิปไตยจึงเข้า ครอบงำระบบ สื่อสารมวลชนของประเทศ ตั้งแต่สื่อโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ แม้แต่กระทั่งนิตยสารรายเดือนเพื่อความบันเทิง เพื่อให้ข้อมูลข่าวสารเป็นไปตามความต้องการและตอบสนองอำนาจของระบบศักดินา ธิปไตยแต่ ที่ไม่เคยมีใครคาดคิดมาก่อนว่าระบบศักดินาธิปไตยจะเหิมเกริมกล้าที่จะเข้า ครอบงำก็คือ การที่ระบบ ศักดินาธิปไตยเข้าครอบงำและบงการระบบยุติธรรมของประเทศ ซึ่งเป็นระบบที่มีความสำคัญที่สุดในการปกครอง และบริหารประเทศ ถ้าระบบยุติธรรมไม่มีความยุติธรรมอย่างแท้จริง ประชาชนก็จะไม่มีที่พึ่งอีกต่อไป เมื่อประชา ชนไม่มีที่พึ่งแล้วนั้น หนทางสุดท้ายที่จะสามารถเรียกร้องความยุติธรรมกลับคืนมาได้ก็คือ การใช้กำลังเข้าห้ำหั่นกัน ซึ่งนั้นก็คือความล่มสลายของประเทศนั่นเอง แต่ระบบศักดินาธิปไตยก็ไม่คำนึงถึงปัญหาดังกล่าว เพียงเพื่อที่จะ รักษาอำนาจและผลประโยชน์ของตนเอง ระบบศักดินาธิปไตยจึงลากเอาระบบยุติธรรมที่เป็นพึ่งสุดท้ายของประชา ชน เข้ามาเป็นเครื่องมือในการทำลายล้างประชาชนที่ไม่ยอมสยบอยู่ใต้อำนาจของตน เอง จนเป็นเหตุให้ประเทศไทย ต้องพบกับความล่มสลายอย่างเช่นทุกวันนี้


กล่าวโดยสรุป
ระบบศักดินาธิปไตยนั้น คือระบบของอภิสิทธิชน ที่ต้องการรวบเอาออำนาจและผล ประโยชน์ของประเทศชาติไว้เป็นของตนเองและพวกพ้องเท่านั้น ดังนั้นระบบศักดินาธิปไตยจึงต้องใช้วิธีการต่าง ๆ ที่จะรักษาอำนาจของตนเองไว้ในกลุ่ม จึงไม่เห็นความสำคัญของประชาชน และที่สำคัญคือระบบศักดินาจะดำรงค์ อยู่ได้ก็ต่อเมื่อประชาชนที่เป็นเจ้าประเทศที่แท้จริง ไม่มีโอกาสที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตของตนเองทั้งทางด้านเศรษฐ กิจและสังคม เพราะถ้าประชาชนสามารถที่จะพัฒนาคุณภาพชีวิตได้แล้วนั้น จะทำให้ประชาชนตระหนักถึง สิทธิ และเสรีภาพของตนเอง และจะเรียกร้องอำนาจอธิปไตยไปจากระบบศักดินาธิปไตยนั้นเอง ดังนั้นเพื่อให้ระบบ ศักดินาธิปไตยดำรงค์อยู่ได้จึงจำเป็นที่จะต้องกดหัวประชาชนส่วนใหญ่ของ ประเทศเอาไว้ โดยใช้วิธีการที่ผู้เขียน กล่าวเอาไว้ในข้างต้น เมื่อไม่สามารถที่จะปกครองและควบคุมประชาชนเอาให้สยบยอมอยู่ใต้อำนาจของตน เอง ระบบศักดินาธิปไตย จึงกระทำได้แม้กระทั่งการสังหารหมู่ประชาชนในกรณีเหตุการสลายการชุมนุมในปี พ.ศ. ๒๕๕๓ โดยไม่คำนึงถึงหลักการและสิทธิของประชาชนใดทั้งสิ้น เพียงเพื่อต้องการรักษาอำนาจของตนเองเอาไว้ เท่านั้น ดังนั้นระบบศักดินาธิปไตยจึงเปรียบเสมือนปรสิตที่เกาะกินประเทศไทย และเป็นระบบที่จะต้องถูกกำจัด ออกไปให้หมดสิ้นจากผืนแผ่นใดไทย ทั้งนี้เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติและประชาชนชาวไทยผู้เป็นเจ้าของ ประเทศอย่างแท้จริง



ที่มา : http://baanram.blogspot.com/2010/07/blog-post.h

ศักดินาไทย


ศักดินา คือ ตัววัดในการปรับไหม และ พินัย ในกรณีขึ้นศาล คนที่ถือศักดินาสูง เมื่อทำผิดจะถูกลงโทษหนักกว่าผู้มีศักดินาต่ำ การปรับในศาลหลวง ค่าปรับนั้นก็เอาศักดินาเป็นบรรทัดฐานการกำหนดระบบศักดินาขึ้นมาก็เพื่อ ประโยชน์ในการกำหนดสิทธิและหน้าที่ของประชาชน หน่วยที่ใช้ในการกำหนดศักดินา ใช้จำนวนไร่เป็นเกณฑ์ แต่มิได้หมายความว่าศักดินาจะเป็นข้อกำหนดตายตัวเกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ในการ ถือครองที่ดิน
ศักดินา ไม่เกี่ยวกับกรรมสิทธิ์ที่ดิน เป็นวิธีการลำดับ"ศักดิ์"ของบุคคลตั้งแต่ พระมหาอุปราช ขุนนาง ข้าราชการ ลงไปจนถึงไพร่และทาส โดยกำหนดจำนวนที่นามากน้อยตามศักดิ์ของคนนั้น พระมหาอุปราชมีศักดินา 100,000 ไร่ และสูงสุดของขุนนางคือ ชั้นเจ้าพระยามีศักดินา 10,000 ไร่ คนธรรมดาสามัญมีศักดินา 25 ไร่ ทาสมีศักดินา 5 ไร่ เป็นต้น
ถ้า เทียบกันก็คล้ายกับ ซี ในระบบราชการปัจจุบัน ที่ทำให้รู้ว่าข้าราชการคนนั้นอยู่ในลำดับสูงต่ำกว่ากันแค่ไหน แต่ศักดินากว้างกว่าคือครอบคลุมทุกคนในราชอาณาจักรเว้นแต่พระมหากษัตริย์
ไม่ได้หมายความว่าคนในระบบศักดินามีที่ดินได้ตามจำนวนศักดินา ในความเป็นจริง ทาสไม่มีสิทธิ์ครอบครองทรัพย์สินที่ดินใด ๆ ทั้งนั้น
ในสมัยกรุงศรีอยุธยา อาจกล่าวได้ว่าเป็นสังคมศักดินา เพราะในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ (พ.ศ. 1991 - พ.ศ. 2031) พระองค์ได้ทรงตราพระราชกำหนดศักดินาขึ้นมาใช้อย่างเป็นทางการใน พ.ศ. 1997 โดย กำหนดให้บุคคลทุกประเภทในสังคมไทยมีศักดินาด้วยกันทั้งสิ้น นับตั้งแต่พระบรมวงศานุวงศ์ ขุนนางผู้ใหญ่ ลงไปถึงบรรดาไพร่ ทาส และพระสงฆ์ ยกเว้นองค์พระมหากษัตริย์ ซึ่งมิได้ระบุศักดินาเอาไว้ เพราะทรงเป็นเจ้าของศักดินาทั้งปวง

ระบบมาเนอร์หรือศักดินายุโรป

พื้นฐานและที่มาของระบบ
ระดับชั้นในระบบศักดินาของตะวันตกเป็นระบบสังคมและเศรษฐกิจที่เป็นระบบที่ ใช้ในสังคมของยุโรปอย่างกว้างขวางในยุคกลาง หัวใจของระบบคือการมอบดินแดนให้เป็นการแลกเปลี่ยนกับการสนับสนุนทางการทหาร
ธรรมชาติ ของระบบศักดินาเป็นระบบที่สร้างระดับชั้นในสังคม ที่ผู้มีส่วนร่วมต่างก็ทราบฐานะและหน้าที่ของตนในระบบสังคมนั้น ว่ามีความเกี่ยวข้องและรับผิดชอบต่อผู้ใดที่เหนือกว่า และต่ำกว่าตนเองอย่างใด การรักษาความสัมพันธ์ดังว่าเป็นไปตามการสืบดินแดนตามกฎบัตรต่างๆ หรือประเพณีที่วางไว้อย่างเคร่งครัด แต่กฎของประเพณีอันสำคัญที่สุดและปฏิบัติกันอย่างเคร่งครัดที่สุดคือกฎสิทธิ ของบุตรคนแรกซึ่งหมายความว่าสมบัติ/ที่ดินทุกอย่างของผู้ที่เสียชีวิตต้องตก เป็นของบุตรชายคนโตเท่านั้น
บุคคลในสังคมระบบศักดินาเป็น "บริวาร" (vassal) หรือ "ข้า" ของประมุข ฉะนั้นจึงต้องสาบานความภักดีต่อประมุข ผู้ที่มีความรับผิดชอบและหน้าที่ในการพิทักษ์และรักษาความยุติธรรมให้แก่ผู้ อยู่ภายใต้การปกครอง สังคมระบบศักดินาเป็นสังคมที่สมาชิกในสังคมมีความภักดีและหน้าที่รับผิดชอบ ต่อกันและกัน เป็นสังคมที่ประกอบด้วยผู้ครองดินแดนผู้เป็นทหารและชนชั้นแรงงานที่เป็น เกษตรกร ขุนนางที่เป็นผู้ครองดินแดนที่ว่านี้ก็รวมทั้งสังฆราชเพราะสังฆราชก็เป็นผู้ ครองดินแดนเช่นเดียวกับฆราวาส ชนชั้นที่ต่ำที่สุดในระบบนี้คือเกษตรกร หรือ villeins ต่ำกว่านั้นก็เป็นข้าที่ดิน (serfs)
ระบบศักดินารุ่งเรืองมาจนกระทั่งเมื่อระบบการปกครองโดยพระมหากษัตริย์ผู้มี อำนาจจากศูนย์กลางมีความแข็งแกร่งขึ้น ก่อนหน้านั้นผู้มีอำนาจที่แท้จริงคือขุนนางผู้ครองดินแดน ผู้มีเกษตรกรอยู่ภายใต้การปกครองผู้มีหน้าที่เสียค่าธรรมเนียมต่างๆ ระบบการศาลก็เป็นระบบที่ทำกันในท้องถิ่นที่ปกครอง ระบบก็จะแตกต่างกันออกไปบ้างแต่โดยทั่วไปแล้วเกษตรกรก็จะมีที่ดินทำมาหากิน แปลงเล็กๆ หรือแปลงที่ร่วมทำกับผู้อื่นที่ใช้เป็นที่ปลูกอาหารสำหรับตนเองและครองครัว และมีสิทธิที่จะหาฟืนจากป่าของผู้ครองดินแดนมาใช้ ระบบที่ใช้กันมากคือระบบการแบ่งที่ดินเป็นผืนยาวๆ รอบดินแดนของมาเนอร์
ระบบศักดินาตะวันตกที่วิวัฒนาการขึ้นในขณะที่บ้านเมืองอยู่ในสภาพอันระส่ำระสายในคริสต์ศตวรรษที่ 8 ในฝรั่งเศสเป็นระบบที่ทำให้สร้างความมีกฎมีระเบียบขึ้นบ้าง การเป็นเจ้าของดินแดนก็อาจจะได้มาโดยการยินยอมหรือการยึดครอง ผู้ครองดินแดนใหญ่ๆ อาจจะได้รับหน้าที่ทางกฎหมายและทางการปกครองจากรัฐบาลกลางพอสมควร เมื่อมาถึงระดับดินแดนในปกครองผู้ครองดินแดนก็อาจจะทำข้อตกลงกับเจ้าของดิน แดนที่ย่อยลงไปอื่นๆ ในการก่อตั้งกองทหารท้องถิ่นเพื่อการป้องกันตนเอง ระบบศักดินาเป็นระบบที่มีกฎหมายและจารีตที่เป็นของตนเองที่มามีบทบาทอัน สำคัญในประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมของยุโรปในยุคกลาง ระบบศักดินานำเข้ามาใช้ในอังกฤษโดยสมเด็จพระเจ้าวิลเลียมที่ 1 แห่งอังกฤษในปี พ.ศ. 1609 แต่ทรงริดรอนอำนาจจากขุนนางที่เป็นบริวารของพระองค์เป็นอันมากและใช้ระบบการ บริหารจากส่วนกลาง ระบบศักดินามีองค์ประกอบสามอย่าง: เจ้าของที่ดิน, ที่ดิน และ รัฐบาล สมาชิกในระบบศักดินารวมทั้งพระมหากษัตริย์ผู้เป็นประมุขของระบบ แต่ละคนต่างก็มีอภิสิทธิ์แตกต่างกันไปตามที่ระบุตามกฎระบบศักดินาในการรับ ผิดชอบต่อหน้าที่ที่กำหนด
ระดับชั้นในระบบศักดินา
ระบบศักดินา หรือ ระบบสามนตราช (Feudalism) ของ ยุโรปนี้แตกต่างจากระบบศักดินาไทยอย่างสิ้นเชิง เพราะเป็นระบบดังกล่าวข้างต้น ที่มีนาย และข้า ถัดลงไปตามลำดับ โดยระดับสูงคือจักรพรรดิที่อาจมีรัฐบริวาร (Vassal) รองลงมาคือ กษัตริย์ และ อาร์คดยุค เช่นในจักรวรรดิโรมันอันศักดิ์สิทธิ์ (Holy Roman Empire) กษัตริย์ก็มีข้ารองลงมา ปกครองดินแดนย่อยลงไปคือ ดยุค และถัดไปตามลำดับ ขุนนางและผู้ครองดินแดนของยุโรปแบ่งออกเป็น 5 ระดับดังนี้
1.ดยุค
2.มาร์ควิส
3.เอิร์ล (อังกฤษ) หรือ เคานท์ หรือ มากราฟ (ภาคพื้นยุโรป)
4.ไวส์เค้านท์
5.บารอน
ตำแหน่ง ต่างๆ เหล่านี้ ส่วนใหญ่เป็นตำแหน่งสืบสกุล พระมหากษัตริย์มีสิทธิที่จะพระราชทานตำแหน่งใหม่ หรือเพิกถอน หรือผนวกดินแดนเป็นของหลวง แต่ละตระกูลจะสืบสกุลไปจนกว่าจะสิ้นบุตรชายหรือถูกปลดหรือถูกผนวกโดยดินแดน อื่น ลักษณะของดินแดนที่ครองก็เปลี่ยนไปตามความผันผวนทางการเมือง, การ แบ่งแยกที่ดินระหว่างทายาท หรือการรวมตัวกันเป็นสหอาณาจักร และอื่นๆ บางตำแหน่งก็เป็นตำแหน่งเลือกตั้งหรือการเลื่อนระดับเช่นตำแหน่งเจ้าผู้ครอง นครของอาณาจักรสมเด็จพระสังฆราช แม้ว่าผู้ครองดินแดนเหล่านี้อาจจะไม่เป็นข้าราชการโดยตรงแต่ก็มีหน้าที่รับ ผิดชอบต่อผู้เหนือกว่า ขุนนางเหล่านี้จะมี ที่ดิน หรือ Estate เป็นของตนเอง มีข้าที่ดิน (serfs) คือ สามัญชนที่ทำกินในที่ดินของขุนนาง และต้องจ่ายภาษีให้ขุนนางเจ้าของที่ดินนั้น และขุนนางมีอำนาจตัดสินคดีความในเขตของตน และจะต้องส่ง ทหารที่พร้อมรบ ไปรวมทัพกับกษัตริย์ในกรณีที่มีการระดมพล ในการทำสงคราม ขุนนางจะต้องรับผิดชอบ เกณฑ์คนในเขตของตนไปร่วมกองทัพ

ที่มา : http://th.wikipedia.org/wiki/%E0%B8%A8%E0%B8%B1%E0%B8%81%E0%B8%94%E0%B8%B4%E0%B8%99%E0%B8%B2

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น